ลักษณะทั่วไป
ปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว (livebearing fish) ที่เจริญมาจากไข่หลังการปฏิสนธิกับน้ำเชื้อ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ปลาเพศผู้มีขนาด 3-5 เซนติเมตร ปลาเพศเมียมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ปลาในธรรมชาติ เพศเมียมีสีเทา เทาอมน้ำตาล น้ำตาลอ่อน หรือสีเขียวอมน้ำตาล บริเวณท้องสีขาวอมเทาครีบต่างๆ ไม่มีสี ส่วนปลาเพศผู้ จะมีจุดสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงินหรือดำปรากฏอยู่บริเวณคอดหาง และมีครีบหางกลม
ปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว (livebearing fish) ที่เจริญมาจากไข่หลังการปฏิสนธิกับน้ำเชื้อ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ปลาเพศผู้มีขนาด 3-5 เซนติเมตร ปลาเพศเมียมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ปลาในธรรมชาติ เพศเมียมีสีเทา เทาอมน้ำตาล น้ำตาลอ่อน หรือสีเขียวอมน้ำตาล บริเวณท้องสีขาวอมเทาครีบต่างๆ ไม่มีสี ส่วนปลาเพศผู้ จะมีจุดสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงินหรือดำปรากฏอยู่บริเวณคอดหาง และมีครีบหางกลม
ปลาหางนกยูงมีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่ปลายหาง ครีบ และสี ได้แก่ ชนิดหางกลมมนคล้ายพัด หรือชนิดหางเข็มหรือหางแฉกคล้ายดาบ
การแยกเพศ
– ปลาเพศเมีย มีจุดสีดำ (Gravid spot) บริเวณรูเปิดช่องท้องด้านล่าง
– ปลาเพศผู้ มีลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย
– ปลาเพศเมีย มีจุดสีดำ (Gravid spot) บริเวณรูเปิดช่องท้องด้านล่าง
– ปลาเพศผู้ มีลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย
การตั้งชื่อสายพันธุ์ขึ้นกับสี ลวดลาย และปลายหาง เช่น
– Golden cobra lacetail ลำตัวมีลวดลายคล้ายงู โดดเด่นด้วยสีเหลืองทอง และปลายหางแหลมคล้ายปลายใบโพธิ์
– Red lower swordtail ลำตัว และหางโดดเด่นด้วยสีแดง หางขาดเว่งเป็นริ้ว ครึ่งลำตัวช่วงล่างมีสีน้ำเงินเข้ม ส่วนหางมีสีแดง
– Golden cobra lacetail ลำตัวมีลวดลายคล้ายงู โดดเด่นด้วยสีเหลืองทอง และปลายหางแหลมคล้ายปลายใบโพธิ์
– Red lower swordtail ลำตัว และหางโดดเด่นด้วยสีแดง หางขาดเว่งเป็นริ้ว ครึ่งลำตัวช่วงล่างมีสีน้ำเงินเข้ม ส่วนหางมีสีแดง
ปลา หางนกยูงที่เลี้ยงมากที่สุด คือสายพันธุ์ Sword tail ลักษณะลำตัวมีจุดหรือลวดลาย ลำตัวมีหลายสี อาทิ สีเหลือง เทา ฟ้า เขียว แดง ชมพู ผสมกันตั้งแต่สองสีขึ้นไป ครีบหางเป็นแฉก
รูปแบบครีบหางปลาหางนกยูง (กรมประมง, 2550)(5)
1. Spade tail หางคล้ายเสียมหรือจอบ
– Round spade ครีบหางมีลักษณะกลมสั้น ปลายครีบหางมน ส่วนครีบหลังมีทั้งรูปเรียวแหลมหรือกลม
– Pointed spade ครีบหางมีลักษณะกลมกลมยาว โดยเฉพาะตรงกลางครีบ ปลายครีบหางเรียวแหลม คล้ายปลายปากกา
– Spear spade ครีบหางมีลักษณะคล้ายหอก แหลมยาว คล้ายแบบ Pointed spade แต่กว้างกว่า ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
1. Spade tail หางคล้ายเสียมหรือจอบ
– Round spade ครีบหางมีลักษณะกลมสั้น ปลายครีบหางมน ส่วนครีบหลังมีทั้งรูปเรียวแหลมหรือกลม
– Pointed spade ครีบหางมีลักษณะกลมกลมยาว โดยเฉพาะตรงกลางครีบ ปลายครีบหางเรียวแหลม คล้ายปลายปากกา
– Spear spade ครีบหางมีลักษณะคล้ายหอก แหลมยาว คล้ายแบบ Pointed spade แต่กว้างกว่า ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
2. Sword tail ครีบหางยาว
– Double sword tail หางมีครีบคล้ายดาบ มีก้านครีบทั้งด้านบน และด้านล่าง
– Top sword tail ครีบหางยาวเฉพาะส่วนบน มีรูปทรงไข่
– Bottom sword tail ครีบหางมีรูปไข่ คล้ายแบบ Top sword tail แต่ก้านครีบส่วนล่างยาวคล้ายดาบ ครีบหลังยาวมากกว่าครีบหาง
– Lyre tail ครีบหางมีลักษณะคล้ายพิณ ปลายครีบหางเว้าลึก ความยาวครีบหางเกือบยาวเท่ากับความยาวลำตัว ประมาณ 4 ใน 5 ส่วน ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
– V tail ครีบหางเป็นรูปทรงตัววี (V) ขอบครีบหางโค้งลงด้านล่าง
– Double sword tail หางมีครีบคล้ายดาบ มีก้านครีบทั้งด้านบน และด้านล่าง
– Top sword tail ครีบหางยาวเฉพาะส่วนบน มีรูปทรงไข่
– Bottom sword tail ครีบหางมีรูปไข่ คล้ายแบบ Top sword tail แต่ก้านครีบส่วนล่างยาวคล้ายดาบ ครีบหลังยาวมากกว่าครีบหาง
– Lyre tail ครีบหางมีลักษณะคล้ายพิณ ปลายครีบหางเว้าลึก ความยาวครีบหางเกือบยาวเท่ากับความยาวลำตัว ประมาณ 4 ใน 5 ส่วน ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
– V tail ครีบหางเป็นรูปทรงตัววี (V) ขอบครีบหางโค้งลงด้านล่าง
3. Wide tail หางกว้าง และใหญ่
– Delta tail หรือ Triangle tail ครีบหางเป็นแบบรูปสามเหลี่ยม
– Ribbon tail ครีบหางยาวมาก ครีบไม่แผ่กว้าง
– Veil tail ครีบหางยาวมาก เป็นพวงห้อย ปลายหางแผ่กว้าง
– Delta tail หรือ Triangle tail ครีบหางเป็นแบบรูปสามเหลี่ยม
– Ribbon tail ครีบหางยาวมาก ครีบไม่แผ่กว้าง
– Veil tail ครีบหางยาวมาก เป็นพวงห้อย ปลายหางแผ่กว้าง
การผสมพันธุ์
ปลาเพศเมียสามารถถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 3-5 เดือน หลังจากผสมพันธุ์แล้วไข่จะเจริญในรังไข่จนถึงประมาณ 6-8 สัปดาห์ ก็จะฟักเป็นตัว เนื่องจากน้ำเชื้อตัวผู้ที่ฉีดเข้าผสมกับไข่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในท่อนำไข่จึงทำให้น้ำเชื้อที่ค้างอยู่สามารถผสมกับไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับ จากตัวผู้อีก จึงทำให้ปลาหางนกยูงออกลูกได้หลายครั้งจากผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว
ปลาเพศเมียสามารถถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุ 3-5 เดือน หลังจากผสมพันธุ์แล้วไข่จะเจริญในรังไข่จนถึงประมาณ 6-8 สัปดาห์ ก็จะฟักเป็นตัว เนื่องจากน้ำเชื้อตัวผู้ที่ฉีดเข้าผสมกับไข่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในท่อนำไข่จึงทำให้น้ำเชื้อที่ค้างอยู่สามารถผสมกับไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับ จากตัวผู้อีก จึงทำให้ปลาหางนกยูงออกลูกได้หลายครั้งจากผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว
ลูกปลาหางนกยูงในระยะ 3 เดือนแรกจะแยกเพศได้ยาก แต่จะแยกเพศได้ดีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยตัวเมียจะถึงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตัวผู้
ชนิดปลาหางนกยูง
1. Wild guppies เป็นปลาหางนกยูงที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ มักมีสีลำตัวคล้ำ ครีบหลัง และครีบหางสั้น สีไม่สวยงาม และไม่โดดเด่นเหมือนประเภทที่มีการปรับปรุงพันธุ์ โดยปลาเพศผู้ และเพศเมียมีลักษณะไม่แตกต่างกันมาก
1. Wild guppies เป็นปลาหางนกยูงที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ มักมีสีลำตัวคล้ำ ครีบหลัง และครีบหางสั้น สีไม่สวยงาม และไม่โดดเด่นเหมือนประเภทที่มีการปรับปรุงพันธุ์ โดยปลาเพศผู้ และเพศเมียมีลักษณะไม่แตกต่างกันมาก
2. Fancy guppies เป็นปลาหางนกยูงที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลาประเภท Wild guppies จนได้ลักษณะสีสัน และลวดลายสวยงาม มีครีบ และหางยาว โดยเฉพาะปลาเพศผู้ที่มีลักษณะครีบใหญ่ยาว สีสวยงามมากกว่าปลาเพศเมียมาก
พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง
1. คอบร้า (Cobra)
• พันธุ์ย่อย
– Yellow cobra/King cobra มีลักษณะเด่นที่ลำตัว และครีบหางสีเหลือง
– Red cobra มีลักษณะเด่นที่ลำตัว และครีบหางสีแดง
– Multicolour มีหลายสีผสมกัน
– ฯลฯ
1. คอบร้า (Cobra)
• พันธุ์ย่อย
– Yellow cobra/King cobra มีลักษณะเด่นที่ลำตัว และครีบหางสีเหลือง
– Red cobra มีลักษณะเด่นที่ลำตัว และครีบหางสีแดง
– Multicolour มีหลายสีผสมกัน
– ฯลฯ