วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปลา

ลักษณะทั่วไป
ปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว (livebearing fish) ที่เจริญมาจากไข่หลังการปฏิสนธิกับน้ำเชื้อ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ปลาเพศผู้มีขนาด 3-5 เซนติเมตร ปลาเพศเมียมีขนาด 5-7 เซนติเมตร ปลาในธรรมชาติ เพศเมียมีสีเทา เทาอมน้ำตาล น้ำตาลอ่อน หรือสีเขียวอมน้ำตาล บริเวณท้องสีขาวอมเทาครีบต่างๆ ไม่มีสี ส่วนปลาเพศผู้ จะมีจุดสีเขียว เหลือง แดง น้ำเงินหรือดำปรากฏอยู่บริเวณคอดหาง และมีครีบหางกลม
ปลาหางนกยูงมีความแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันที่ปลายหาง ครีบ และสี ได้แก่ ชนิดหางกลมมนคล้ายพัด หรือชนิดหางเข็มหรือหางแฉกคล้ายดาบ
การแยกเพศ
– ปลาเพศเมีย มีจุดสีดำ (Gravid spot) บริเวณรูเปิดช่องท้องด้านล่าง
– ปลาเพศผู้ มีลำตัวเรียวยาวกว่าเพศเมีย
การตั้งชื่อสายพันธุ์ขึ้นกับสี ลวดลาย และปลายหาง เช่น
– Golden cobra lacetail ลำตัวมีลวดลายคล้ายงู โดดเด่นด้วยสีเหลืองทอง และปลายหางแหลมคล้ายปลายใบโพธิ์
– Red lower swordtail ลำตัว และหางโดดเด่นด้วยสีแดง หางขาดเว่งเป็นริ้ว ครึ่งลำตัวช่วงล่างมีสีน้ำเงินเข้ม ส่วนหางมีสีแดง
ปลา หางนกยูงที่เลี้ยงมากที่สุด คือสายพันธุ์ Sword tail ลักษณะลำตัวมีจุดหรือลวดลาย ลำตัวมีหลายสี อาทิ สีเหลือง เทา ฟ้า เขียว แดง ชมพู ผสมกันตั้งแต่สองสีขึ้นไป ครีบหางเป็นแฉก
รูปแบบครีบหางปลาหางนกยูง (กรมประมง, 2550)(5)
1. Spade tail หางคล้ายเสียมหรือจอบ
– Round spade ครีบหางมีลักษณะกลมสั้น ปลายครีบหางมน ส่วนครีบหลังมีทั้งรูปเรียวแหลมหรือกลม
– Pointed spade ครีบหางมีลักษณะกลมกลมยาว โดยเฉพาะตรงกลางครีบ ปลายครีบหางเรียวแหลม คล้ายปลายปากกา
– Spear spade ครีบหางมีลักษณะคล้ายหอก แหลมยาว คล้ายแบบ Pointed spade แต่กว้างกว่า ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
2. Sword tail ครีบหางยาว
– Double sword tail หางมีครีบคล้ายดาบ มีก้านครีบทั้งด้านบน และด้านล่าง
– Top sword tail ครีบหางยาวเฉพาะส่วนบน มีรูปทรงไข่
– Bottom sword tail ครีบหางมีรูปไข่ คล้ายแบบ Top sword tail แต่ก้านครีบส่วนล่างยาวคล้ายดาบ ครีบหลังยาวมากกว่าครีบหาง
– Lyre tail ครีบหางมีลักษณะคล้ายพิณ ปลายครีบหางเว้าลึก ความยาวครีบหางเกือบยาวเท่ากับความยาวลำตัว ประมาณ 4 ใน 5 ส่วน ครีบหลังสั้นกว่าครีบหางประมาณ 1 ใน 3
– V tail ครีบหางเป็นรูปทรงตัววี (V) ขอบครีบหางโค้งลงด้านล่าง
3. Wide tail หางกว้าง และใหญ่
– Delta tail หรือ Triangle tail ครีบหางเป็นแบบรูปสามเหลี่ยม
– Ribbon tail ครีบหางยาวมาก ครีบไม่แผ่กว้าง
– Veil tail ครีบหางยาวมาก เป็นพวงห้อย ปลายหางแผ่กว้าง

ปลาหางนกยูง

1 ประวัติของปลาหางนกยูง               
                ปลาหางนกยูงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แถบ เวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดส และ ในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด และ น้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลากินยุง (Mosquito  Fish)   ซึ่งเป็นกลุ่มปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ ทำให้สามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนน้อยๆได้ดี   ในระยะเริ่มแรกนิยมใช้ปลากลุ่มนี้ในการนำไปช่วยกำจัดยุงลาย เนื่องจากมีคุณสมบัติที่พิเศษถึง  2 ประการ คือ ประการแรกมีความอดทน เนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจที่เรียก Labyrinth  organ   ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่เริ่มเน่าเสียซึ่งมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้  ประการที่สอง คือ  มีความสามารถแพร่พันธุ์ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ปลาหางนกยูงได้ถูกนำเข้าไปทดลองเลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อป .. 2451   และแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆในเขตร้อน เพื่อใช้ปราบยุงลายช่วยลดปัญหาเรื่องการระบาดของไข้มาลาเรีย โดยนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำขังต่างๆหรือแหล่งน้ำเสียที่มีตัวอ่อนของยุง ที่เรียกกันว่าลูกน้ำอยู่มากโดยไม่มีปลาชนิดอื่นเข้าไปอาศัยอยู่ได้ เนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ แต่สำหรับปลาหางนกยูงหรือที่เรียกว่าปลากินยุง จะสามารถใช้อวัยวะช่วยหายใจนำออกซิเจนจากอากาศมาใช้ จึงทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นปลาที่ชอบกินลูกน้ำ แล้วแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถควบคุมปริมาณลูกน้ำให้ลดลงได้ จึงเป็นการช่วยลดปริมาณยุงลงได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงเริ่มพัฒนามาเป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม โดยนำปลาหางนกยูงที่มีความสวยงามจากประเทศเวเนซูเอลา  บาร์บาดาส  ทรินิแดด  บราซิล  และกิอานา   เข้าไปดำเนินการเพาะพันธุ์และมีการคัดพันธุ์จนได้ปลาหางนกยูงที่มีความสวยงามหลายสายพันธุ์